Guardians Galaxy - รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาล
รีวิววิจารณ์หนัง (0)
Guardians of the Galaxy (2014)
ในขณะที่หนังซูเปอร์ฮีโร่ในช่วงหลังๆ จะมีการใส่มิติความสมจริงสมจังลงไปมากขึ้น เราจะได้เห็นเรื่องราวและตัวละครที่ดูมีความซีเรียสจริงจังแบบมนุษย์เดินดินมากขึ้นถึงแม้ว่าตัวละครเหล่านั้นจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่เหนือมนุษย์แค่ไหนก็ตาม แต่ใน Guardians of the Galaxy ดูจะกลับไปเล่นสนุกกับขนบความเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่ดั้งเดิม ที่ครบรสทั้งความสนุกเพลิดเพลิน มุกตลก ฉากแอคชั่นแฟนตาซีที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยมีซาวด์แทร็กหลักเป็นเพลงยุค 80 ที่ช่วยขับเน้นกลิ่นอายความเป็นขนบดั้งเดิมให้มีเสน่ห์มากขึ้นไปอีก
องค์ประกอบที่สำคัญและโดดเด่นที่สุดในหนังคือตัวละครหลักทั้งห้าตัว ซึ่งอาจจะเป็นตัวละครที่หน้าใหม่โดยสิ้นเชิงสำหรับใครที่ไม่ได้เป็นแฟนคอมมิก Marvel ความยอดเยี่ยมของหนังเรื่องนี้คือการที่สามารถนำเสนอตัวละครใหม่ๆ ที่ไม่ได้มีโปรไฟล์โด่งดังและเป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไปอยู่แล้วอย่าง Captain America, Iron Man, Thor หรือ The Hulk ออกมาได้อย่างโดดเด่น น่าสนใจ และมีเสน่ห์ โดยเฉพาะสองตัวละครขโมยซีนชั้นดี อย่าง Rocket กับ Groot ที่น่าจะเป็นที่รักของใครหลายคนได้ไม่ยาก
ด้วยความเป็นหนังตระกูล Marvel ทำให้ Guardians of the Galaxy ไม่ได้เป็นเพียงการขยับขยายจักรวาลใหม่ๆ ของ Marvel แต่ยังต้องรับไม้ต่อในการสร้างความเชื่อมโยงจักรวาล Marvel เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์กันของหนังแต่ล่ะเรื่องในตระกูลให้แฟนหนังหน้าใหม่ ขณะเดียวกันตัวละครลับที่โผล่ไปในหนังเรื่องต่างๆ ก็เป็นเซอร์ไพรซ์ที่แฟนคอมมิกรอคอยที่จะได้เห็นในจอภาพยนตร์อย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งในหนังเรื่องนี้ก็ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของหนึ่งในตัวละครที่สำคัญที่สุดในภายภาคหน้าของจักวาลหนังตระกูล Marvel รวมถึงเซอร์ไพรซ์กวนๆ เอาใจแฟนๆ ของตัวละครลับที่โผล่มาในฉากหลังเอนด์เครดิต
โดยรวมแล้ว Guardians of the Galaxy เป็นหนังที่ครบรสทั้งในแง่ความสนุก ภาพแอคชั่นแฟนตาซีที่สวยงาม จังหวะจะโคนของมุกตลกที่ค่อนข้างลงตัว และตัวละครที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมให้ภาพรวมของหนังตระกูล Marvel มีความสมบูรณ์หลากหลายมากขึ้น ทำให้หนังมีความลงตัวทั้งในตัวมันเองและในแฟรนไชส์ Marvel ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความดีความชอบทั้งหมดก็คงตกแก่ Marvel ที่วางแผนการตลาดได้อย่างเฉียบคมเหลือเกิน เพราะไม่ว่าจะเป็นภาคต่อของ Guardians of the Galaxy หรือหนังเรื่องต่อไปของ Marvel ก็ล้วนถูกจับตามองจากฐานกลุ่มคนดูมหาศาล
สรุปผลวิจารณ์หนัง
สรุปผลวิจารณ์หนัง
ความคิดเห็น (0)
เหมือนหนังซัมเมอร์ทั่วๆ ไปที่หวังเป็นจ่าฝูงในตารางบ็อกออฟฟิศ และเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนดูทั่วไปทุกเพศทุกวัยทั้งบนแผ่นดินโลกและทั้งกาแล็กซี่หากเป็นไปได้ โครงสร้างของหนังจึงไม่ถูกออกแบบให้แปลกแหวกแนวหรือซับซ้อนได้มากไปกว่าการรีไซเคิลโครงสร้างเดิม และเสริมแต่งด้วยมุกต่างๆนานา เลือกตัวละครที่สามารถฮ็อตฮิต สร้างสรรค์เทคนิคภาพพิเศษให้เพลินตา และฉากแอคชั่นอวกาศลุ้นระทึกเพลินใจ คนทำรู้ดีว่าเมื่อรวมร่างอะไหล่พิเศษเหล่านี้ได้เมื่อไหร่ก็แน่นอนว่าจะได้ยานอวกาศลำงามเดินทางพาหนังให้มีโอกาสกอบโกยรายได้มหาศาลได้ง่ายดาย
เมื่อมองตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้มีหนังที่ให้ความบันเทิงในแบบเดียวกันเพิ่มมากขึ้นๆ จนเรียกได้ว่าซ้ำซาก ทั้งเรื่องราวและรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งถ้าไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากการ์ตูนยอดฮิตของมาร์เวล คงมีกระแสเปรียบเทียบกับหนังผจญภัยในอวกาศเรื่องก่อนหน้ามากกว่านี้ทั้ง Star Wars (George Lucas, 1977)/ Serenity (Joss Whedon, 2005) / Star Trek (JJ. Abrams, 2009 / A+25) รวมไปถึงหนังในอาณาจักรซูปเปอร์ฮีโร่ฝั่ง Marvel อย่าง Thor (Kenneth Branagh, 2011 / B) ที่การออกแบบกายภาพตัวละครที่คล้ายคลึงกัน และ The Avengers (Joss Whedon, 2012 / A+30) ที่โครงสร้างลักษณะตัวละครแบบฉบับกลุ่มฮีโร่ต่างคาแร็กเตอร์มารวมกันเพื่อทำภารกิจ นอกจากนั้นยังมี Green Lantern (Martin Campbell, 2011 / C+) จากฝั่ง DC ที่หลายฉากในหนังและความตลกเฮฮาทำให้นึกถึง แต่ Guardians of the Galaxyทำได้ลงตัวกว่าฮีโร่ชุดเขียวห่างกันหลายขุมอุกาบาตนัก
นอกจากความเป็นหนังแอคชั่น ไซ-ไฟแล้ว ความสัมพันธ์ของ ’สตาร์ลอร์ด’ กับ ‘กาโมร่า’ รวมถึงมนุษย์ต่างดาวที่สืบสายพ่อแม่ลูกต่างสายพันธ์ต่างๆ ก็มีความน่าสนใจในเรื่องของชาติพันธุ์ ทำให้นึกถึงปฏิกิริยาของเหล่ามนุษย์ชายที่มีต่อรูปร่างของเอเลี่ยนที่ปลอมเปลือกเป็นมนุษย์สาว ‘สกาเล็ต โจแฮนซัน’ ในหนังเรื่อง Under the Skin (Jonathan Glazer, 2013 / A+30) ซึ่งเหล่ามนุษย์ต่างดาวใน Guardians of the Galaxy มีความรักใคร่โดยมองข้ามรูปร่างภายนอกที่แตกต่าง แม้กระทั่งสตาร์ลอร์ดที่เคยอยู่ในฐานะเด็กชาวโลกในนาม ปีเตอร์ ควิลล์ แต่ชีวิตที่เติบโตผจญภัยในอวกาศก็ทำให้เขาได้ลิ้มรสสวาทสาวๆมาทั่วกาแล็กซี่ คือมองในมุมกลับกันชายทั้งหลายที่ถูกเอเลี่ยนจัดการใน Uder the Skin ไม่มีทางจะพิศวาทมนุษย์ต่างดาวตัวเขียวอย่างกาโมร่าได้ง่ายๆ เป็นมุมมองเล็กๆที่น่าสนใจดี
ผู้กำกับ James Gunn ขึ้นยานลำเดียวกันกับคนเขียนบทพา Guardians of the Galaxy เอาตัวรอดได้ด้วยการรัวเร้าความสนุกเฮฮาแบบไม่ยั้ง ผ่านสถานการณ์ที่สนุกสนานน่าตื่นเต้น และความยั่วยวนกวนเท้าของแต่ละตัวละครผู้พิทักษ์จักรวาลที่บริหารเสน่ห์ความเป็นลูสเซอร์กันได้พอดีๆ อาจมียานแตกบ้างเมื่อรวมกลุ่มกันยิงมุกผ่านบทสนทนาที่ตั้งใจปูพื้นจนจับทางได้ อย่างเช่น มุก ‘I am Groot’ ของ 'กรู๊ท' ที่เรียกเสียงฮาได้ในช่วงแรกๆก่อนที่จะเบื่อ จนถูกนำไปใช้ในบทซาบซึ้งในตอนท้ายที่ออกอาการจั๊กจี้ได้เหมือนกัน แต่ก็กลับมาลอยลำได้เมื่อถึงคิวมุกที่เล่นล้อด้วยจังหวะซ่อนและการตัดต่อ อย่างเช่น มุกอาวุธพิฆาตของ ’ยอนดู’ ที่กั๊กไว้ไม่ปล่อยมุกให้เห็น เป็นอาวุธที่ดูทึ่มๆแต่อีกมุมเหมือนซ่อนพิษสง ก่อนที่จะมาเท่สุดทางอย่างร้ายกาจในฉากท้ายๆ และมุกเพลงของสตาร์ลอร์ดที่ฟีตเจอริ่งร่วมกับการอ้างชื่อ Kevin Becon ซึ่งถ้าขาดส่วนนี้ไปเรื่องทั้งเรื่องอาจไม่มีอะไรพิเศษให้น่าจดจำนัก แต่ตอนท้ายก็เอามาใช้ได้กวนฮาที่สุดครั้งหนึ่งจากมุกทั้งหมดในเรื่อง แม้มันจะกึ่งๆความงี่เง่าไปหน่อยก็ตามรวมถึงฉากแหกคุกในช็อตที่สตาร์ลอร์ดไปเจรจาขอขาเทียมด้วยท่าทีประนีประนอม ขณะที่ตัดกลับมาภายนอกทุกคนกำลังยิงถล่มวิ่งสู้วิ่งหนีกันวุ่นวาย แต่ในฉากวุ่นเดียวกันนี้ยังมีบางแผลเล็กๆน้อยให้มองเห็นซึ่งถูกละเลยในการรักษา
รายละเอียดถูกลดทอนความสำคัญไปกับการกระตุ้นความสนุกสนาน จนดูเหมือนว่าเผลอลืมการแก้ต่างปัญหาและความไม่สมจริงบางอย่าง การที่ ‘ร็อกเก็ต’ รู้ทุกวิธีการที่จะทำให้หนีรอดออกไปได้ด้วยการให้เหตุผลว่าเคยแหกคุกมาแล้วหลายครั้งก็ยังรู้สึกว่าง่ายเกินไป รู้กระทั่งว่าห้องควบคุมนั้นสามารถแยกออกมาเป็นยานพาหนีไปได้ จนไปถึงรู้วิธีควบคุมอาวุธไอพ่น มีช่วงหนึ่งขณะที่ภายนอกอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก แต่ภายในห้องควบคุมที่ถูกยิงจนกระจกหลุดร้าวกลับไม่เกิดปัญหาอะไร และฉากที่สตาร์ลอร์ดไปเอาเครื่องเล่นเทปซึ่งเป็นของดูฟังต่างหน้าแม่คืนมา ผู้คุมนั้นกลับนั่งฟังเพลงหน้าตาระรื่น ทั้งที่เมื่อสักครู่เกิดการต่อสู้ยิงปืนลั่นกันสนั่นคุก นอกจากนั้นคนใช้ในยานของสตาร์ลอร์ดที่หายหน้าไปโดยที่ไม่ถูกพูดถึงอีกเลย แต่ทั้งหมดไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับคนส่วนใหญ่ เมื่อจังหวะจะโคนรับส่งความสนุกสุดสนานทำได้ดีแบบฉากต่อฉาก คำพูดต่อคำพูดอย่างคล่องแคล่ว สร้างขึ้นมาครอบคลุมบดบังความพร่องเหล่านี้จนแทบไม่มีใครรู้สึกขัดใจ
ด้วยความที่ไม่ได้ติดตามอ่านฉบับคอมิกเลยไม่รู้ว่าอารมณ์บรรยากาศก่อนที่จะมาเป็นหนังนั้นเป็นอย่างไรแต่เมื่อถูกจัดวางให้เป็นหนังที่เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี ความประนีประนอมจึงเกิดขึ้น อย่างเช่นพลังของออร์บอัญมณีที่ทุกฝ่ายต่างแย่งชิง ฝ่ายหนึ่งหวังใช้พลังอำนาจเพื่อทำลายล้างและครอบครองสรรพสิ่ง อีกฝ่ายกลับตามล่าเพื่อนำพาไปเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย และมีฝ่ายยิบฝ่ายย่อยที่หวังร่ำรวยจากการเป็นเจ้าของมัน แต่ในหนังนั้นไม่ได้ชี้ชัดพลังของออร์บอย่างชัดเจน เห็นได้จากปฏิกิริยาของออร์บต่อผู้ที่สัมผัสแต่ละคนจาก ‘คาริน่า’ ทาสสาวตัวแดงที่ปลดพันธนาการจาก ‘The Collector’ ด้วยการสัมผัสออร์บจนระเบิดพลังออกมาทำลายทุกอย่างรอบๆ ขณะที่คาริน่าไม่เหลือซาก กรู๊ทอุ้มร็อกเก็ตวิ่งหนีออกไปข้างนอกซึ่งแรงระเบิดรุนแรงตามหลังมาติดๆ แต่ The Collector ซึ่งนอนแผ่อยู่ตรงนั้น รวมถึง สตาร์ลอร์ดกับกาโมร่าที่หลบอยู่ใกล้ๆกลับรอดได้ง่ายๆ รวมถึงหมาอวกาศตัวนั้น และพลังของออร์บในฉากสุดท้ายที่พ่อพระเอกของเราสัมผัสกลับถ่ายเทพลังได้ง่ายๆด้วยการจับมือหน้ากระดานคล้ายจะร้องเพลงสามัคคีชุมนุม อีกทั้งยังใช้พลังสังหารโรแนนได้อีกด้วย ซึ่งในฉากนี้ตัวละครชาวเมืองที่ยืนมุงอยู่ข้างหลังดูตลกน่าเวทนามากๆ และช่วยสร้างความรู้สึกไม่สมจริงสมจังได้เป็นอย่างดี
นอกจากออร์บแล้วยังมีความรุนแรงระหว่างตัวละคร ทั้งการที่โรแนนไม่ด่วนสังหาร ‘แดร๊กซ์’ แต่แดร๊กซ์กลับฆ่า ‘โคราธ’ ตัวละครลูกสมุนของ ‘โรแนน’ ได้อย่างไม่ยั้งมือ ขณะที่ ‘เนบิวล่า’ ก็พลาดเป้ากำกัดกาโมร่าทั้งที่สถานการณ์และความเคียดแค้นอำนวยให้บดขยี้กาโมร่าได้ทุกเมื่อ แต่สตาร์ลอร์ดกลับเสี่ยงชีวิตช่วยเหลือกาโมร่าด้วยการเรียกยานของยอนดูซึ่งกำลังตามล่าเขาอยู่มาช่วยได้ทันเวลาแทนที่จะฆ่าทิ้ง โดยเฉพาะการฟื้นคืนชีวิตของกรู๊ทอย่างง่ายๆแบบไม่มีที่มาที่ไปราวกับปักชำเพาะเมล็ดก็โตคืนเป็นกรู๊ทคนเดิมได้ใหม่แล้ว ถึงแม้ว่ามันจะสร้างความดีใจในการกลับมาแบบใสๆน่ารักน่าเอ็นดูสำหรับใครหลายๆคน แต่มันกลับทำให้ความสะเทือนเศร้าที่ผ่านมาไม่กี่นาทีนั้นเสียค่าไปในทันใด ถึงอย่างไรแล้วการที่ไม่ยอมให้ตัวละครฝ่ายฮีโร่ตายก็เป็นที่เข้าใจได้เพราะคนดูจะได้เห็นห้าผู้พิทักษ์จักรวาลครบแก๊งอีกครั้งในภาคต่อไป และร่วมแจม The Avenger อีกสักครั้ง
เหมือนหนังซัมเมอร์ทั่วๆ ไปที่หวังเป็นจ่าฝูงในตารางบ็อกออฟฟิศ และเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนดูทั่วไปทุกเพศทุกวัยทั้งบนแผ่นดินโลกและทั้งกาแล็กซี่หากเป็นไปได้ โครงสร้างของหนังจึงไม่ถูกออกแบบให้แปลกแหวกแนวหรือซับซ้อนได้มากไปกว่าการรีไซเคิลโครงสร้างเดิม และเสริมแต่งด้วยมุกต่างๆนานา เลือกตัวละครที่สามารถฮ็อตฮิต สร้างสรรค์เทคนิคภาพพิเศษให้เพลินตา และฉากแอคชั่นอวกาศลุ้นระทึกเพลินใจ คนทำรู้ดีว่าเมื่อรวมร่างอะไหล่พิเศษเหล่านี้ได้เมื่อไหร่ก็แน่นอนว่าจะได้ยานอวกาศลำงามเดินทางพาหนังให้มีโอกาสกอบโกยรายได้มหาศาลได้ง่ายดาย
เมื่อมองตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้มีหนังที่ให้ความบันเทิงในแบบเดียวกันเพิ่มมากขึ้นๆ จนเรียกได้ว่าซ้ำซาก ทั้งเรื่องราวและรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งถ้าไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากการ์ตูนยอดฮิตของมาร์เวล คงมีกระแสเปรียบเทียบกับหนังผจญภัยในอวกาศเรื่องก่อนหน้ามากกว่านี้ทั้ง Star Wars (George Lucas, 1977)/ Serenity (Joss Whedon, 2005) / Star Trek (JJ. Abrams, 2009 / A+25) รวมไปถึงหนังในอาณาจักรซูปเปอร์ฮีโร่ฝั่ง Marvel อย่าง Thor (Kenneth Branagh, 2011 / B) ที่การออกแบบกายภาพตัวละครที่คล้ายคลึงกัน และ The Avengers (Joss Whedon, 2012 / A+30) ที่โครงสร้างลักษณะตัวละครแบบฉบับกลุ่มฮีโร่ต่างคาแร็กเตอร์มารวมกันเพื่อทำภารกิจ นอกจากนั้นยังมี Green Lantern (Martin Campbell, 2011 / C+) จากฝั่ง DC ที่หลายฉากในหนังและความตลกเฮฮาทำให้นึกถึง แต่ Guardians of the Galaxyทำได้ลงตัวกว่าฮีโร่ชุดเขียวห่างกันหลายขุมอุกาบาตนัก
นอกจากความเป็นหนังแอคชั่น ไซ-ไฟแล้ว ความสัมพันธ์ของ ’สตาร์ลอร์ด’ กับ ‘กาโมร่า’ รวมถึงมนุษย์ต่างดาวที่สืบสายพ่อแม่ลูกต่างสายพันธ์ต่างๆ ก็มีความน่าสนใจในเรื่องของชาติพันธุ์ ทำให้นึกถึงปฏิกิริยาของเหล่ามนุษย์ชายที่มีต่อรูปร่างของเอเลี่ยนที่ปลอมเปลือกเป็นมนุษย์สาว ‘สกาเล็ต โจแฮนซัน’ ในหนังเรื่อง Under the Skin (Jonathan Glazer, 2013 / A+30) ซึ่งเหล่ามนุษย์ต่างดาวใน Guardians of the Galaxy มีความรักใคร่โดยมองข้ามรูปร่างภายนอกที่แตกต่าง แม้กระทั่งสตาร์ลอร์ดที่เคยอยู่ในฐานะเด็กชาวโลกในนาม ปีเตอร์ ควิลล์ แต่ชีวิตที่เติบโตผจญภัยในอวกาศก็ทำให้เขาได้ลิ้มรสสวาทสาวๆมาทั่วกาแล็กซี่ คือมองในมุมกลับกันชายทั้งหลายที่ถูกเอเลี่ยนจัดการใน Uder the Skin ไม่มีทางจะพิศวาทมนุษย์ต่างดาวตัวเขียวอย่างกาโมร่าได้ง่ายๆ เป็นมุมมองเล็กๆที่น่าสนใจดี
ผู้กำกับ James Gunn ขึ้นยานลำเดียวกันกับคนเขียนบทพา Guardians of the Galaxy เอาตัวรอดได้ด้วยการรัวเร้าความสนุกเฮฮาแบบไม่ยั้ง ผ่านสถานการณ์ที่สนุกสนานน่าตื่นเต้น และความยั่วยวนกวนเท้าของแต่ละตัวละครผู้พิทักษ์จักรวาลที่บริหารเสน่ห์ความเป็นลูสเซอร์กันได้พอดีๆ อาจมียานแตกบ้างเมื่อรวมกลุ่มกันยิงมุกผ่านบทสนทนาที่ตั้งใจปูพื้นจนจับทางได้ อย่างเช่น มุก ‘I am Groot’ ของ 'กรู๊ท' ที่เรียกเสียงฮาได้ในช่วงแรกๆก่อนที่จะเบื่อ จนถูกนำไปใช้ในบทซาบซึ้งในตอนท้ายที่ออกอาการจั๊กจี้ได้เหมือนกัน แต่ก็กลับมาลอยลำได้เมื่อถึงคิวมุกที่เล่นล้อด้วยจังหวะซ่อนและการตัดต่อ อย่างเช่น มุกอาวุธพิฆาตของ ’ยอนดู’ ที่กั๊กไว้ไม่ปล่อยมุกให้เห็น เป็นอาวุธที่ดูทึ่มๆแต่อีกมุมเหมือนซ่อนพิษสง ก่อนที่จะมาเท่สุดทางอย่างร้ายกาจในฉากท้ายๆ และมุกเพลงของสตาร์ลอร์ดที่ฟีตเจอริ่งร่วมกับการอ้างชื่อ Kevin Becon ซึ่งถ้าขาดส่วนนี้ไปเรื่องทั้งเรื่องอาจไม่มีอะไรพิเศษให้น่าจดจำนัก แต่ตอนท้ายก็เอามาใช้ได้กวนฮาที่สุดครั้งหนึ่งจากมุกทั้งหมดในเรื่อง แม้มันจะกึ่งๆความงี่เง่าไปหน่อยก็ตามรวมถึงฉากแหกคุกในช็อตที่สตาร์ลอร์ดไปเจรจาขอขาเทียมด้วยท่าทีประนีประนอม ขณะที่ตัดกลับมาภายนอกทุกคนกำลังยิงถล่มวิ่งสู้วิ่งหนีกันวุ่นวาย แต่ในฉากวุ่นเดียวกันนี้ยังมีบางแผลเล็กๆน้อยให้มองเห็นซึ่งถูกละเลยในการรักษา
รายละเอียดถูกลดทอนความสำคัญไปกับการกระตุ้นความสนุกสนาน จนดูเหมือนว่าเผลอลืมการแก้ต่างปัญหาและความไม่สมจริงบางอย่าง การที่ ‘ร็อกเก็ต’ รู้ทุกวิธีการที่จะทำให้หนีรอดออกไปได้ด้วยการให้เหตุผลว่าเคยแหกคุกมาแล้วหลายครั้งก็ยังรู้สึกว่าง่ายเกินไป รู้กระทั่งว่าห้องควบคุมนั้นสามารถแยกออกมาเป็นยานพาหนีไปได้ จนไปถึงรู้วิธีควบคุมอาวุธไอพ่น มีช่วงหนึ่งขณะที่ภายนอกอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก แต่ภายในห้องควบคุมที่ถูกยิงจนกระจกหลุดร้าวกลับไม่เกิดปัญหาอะไร และฉากที่สตาร์ลอร์ดไปเอาเครื่องเล่นเทปซึ่งเป็นของดูฟังต่างหน้าแม่คืนมา ผู้คุมนั้นกลับนั่งฟังเพลงหน้าตาระรื่น ทั้งที่เมื่อสักครู่เกิดการต่อสู้ยิงปืนลั่นกันสนั่นคุก นอกจากนั้นคนใช้ในยานของสตาร์ลอร์ดที่หายหน้าไปโดยที่ไม่ถูกพูดถึงอีกเลย แต่ทั้งหมดไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับคนส่วนใหญ่ เมื่อจังหวะจะโคนรับส่งความสนุกสุดสนานทำได้ดีแบบฉากต่อฉาก คำพูดต่อคำพูดอย่างคล่องแคล่ว สร้างขึ้นมาครอบคลุมบดบังความพร่องเหล่านี้จนแทบไม่มีใครรู้สึกขัดใจ
ด้วยความที่ไม่ได้ติดตามอ่านฉบับคอมิกเลยไม่รู้ว่าอารมณ์บรรยากาศก่อนที่จะมาเป็นหนังนั้นเป็นอย่างไรแต่เมื่อถูกจัดวางให้เป็นหนังที่เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี ความประนีประนอมจึงเกิดขึ้น อย่างเช่นพลังของออร์บอัญมณีที่ทุกฝ่ายต่างแย่งชิง ฝ่ายหนึ่งหวังใช้พลังอำนาจเพื่อทำลายล้างและครอบครองสรรพสิ่ง อีกฝ่ายกลับตามล่าเพื่อนำพาไปเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย และมีฝ่ายยิบฝ่ายย่อยที่หวังร่ำรวยจากการเป็นเจ้าของมัน แต่ในหนังนั้นไม่ได้ชี้ชัดพลังของออร์บอย่างชัดเจน เห็นได้จากปฏิกิริยาของออร์บต่อผู้ที่สัมผัสแต่ละคนจาก ‘คาริน่า’ ทาสสาวตัวแดงที่ปลดพันธนาการจาก ‘The Collector’ ด้วยการสัมผัสออร์บจนระเบิดพลังออกมาทำลายทุกอย่างรอบๆ ขณะที่คาริน่าไม่เหลือซาก กรู๊ทอุ้มร็อกเก็ตวิ่งหนีออกไปข้างนอกซึ่งแรงระเบิดรุนแรงตามหลังมาติดๆ แต่ The Collector ซึ่งนอนแผ่อยู่ตรงนั้น รวมถึง สตาร์ลอร์ดกับกาโมร่าที่หลบอยู่ใกล้ๆกลับรอดได้ง่ายๆ รวมถึงหมาอวกาศตัวนั้น และพลังของออร์บในฉากสุดท้ายที่พ่อพระเอกของเราสัมผัสกลับถ่ายเทพลังได้ง่ายๆด้วยการจับมือหน้ากระดานคล้ายจะร้องเพลงสามัคคีชุมนุม อีกทั้งยังใช้พลังสังหารโรแนนได้อีกด้วย ซึ่งในฉากนี้ตัวละครชาวเมืองที่ยืนมุงอยู่ข้างหลังดูตลกน่าเวทนามากๆ และช่วยสร้างความรู้สึกไม่สมจริงสมจังได้เป็นอย่างดี
นอกจากออร์บแล้วยังมีความรุนแรงระหว่างตัวละคร ทั้งการที่โรแนนไม่ด่วนสังหาร ‘แดร๊กซ์’ แต่แดร๊กซ์กลับฆ่า ‘โคราธ’ ตัวละครลูกสมุนของ ‘โรแนน’ ได้อย่างไม่ยั้งมือ ขณะที่ ‘เนบิวล่า’ ก็พลาดเป้ากำกัดกาโมร่าทั้งที่สถานการณ์และความเคียดแค้นอำนวยให้บดขยี้กาโมร่าได้ทุกเมื่อ แต่สตาร์ลอร์ดกลับเสี่ยงชีวิตช่วยเหลือกาโมร่าด้วยการเรียกยานของยอนดูซึ่งกำลังตามล่าเขาอยู่มาช่วยได้ทันเวลาแทนที่จะฆ่าทิ้ง โดยเฉพาะการฟื้นคืนชีวิตของกรู๊ทอย่างง่ายๆแบบไม่มีที่มาที่ไปราวกับปักชำเพาะเมล็ดก็โตคืนเป็นกรู๊ทคนเดิมได้ใหม่แล้ว ถึงแม้ว่ามันจะสร้างความดีใจในการกลับมาแบบใสๆน่ารักน่าเอ็นดูสำหรับใครหลายๆคน แต่มันกลับทำให้ความสะเทือนเศร้าที่ผ่านมาไม่กี่นาทีนั้นเสียค่าไปในทันใด ถึงอย่างไรแล้วการที่ไม่ยอมให้ตัวละครฝ่ายฮีโร่ตายก็เป็นที่เข้าใจได้เพราะคนดูจะได้เห็นห้าผู้พิทักษ์จักรวาลครบแก๊งอีกครั้งในภาคต่อไป และร่วมแจม The Avenger อีกสักครั้ง
สรุปผลวิจารณ์หนัง