The Mermaid - เงือกสาว ปัง ปัง
หนัง The Mermaid หรือชื่อไทยว่า เงือกสาว ปัง ปัง The Mermaid ผลงานของผู้กำกับ โจวซิงฉือ ขึ้นอันดับ 1 หนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลในประเทศจีน ชมตัวอย่างก่อนเข้าฉายในเมืองไทย 13 เมษายน ความยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศจีน เป็นที่เลื่องชื่อว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการสร้างสถิติครั้งใหม่ เมื่อผลงานล่าสุดของผู้กำกับโจวซิงฉือ (Chow Sing-Chi) ที่ชื่อว่า The Mermaid กลายเป็นหนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลในเมืองจีนไปแล้ว โดยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2016 เว็บไซต์ Box Office Mojo รายงานความสำเร็จของหนังเรื่อง The Mermaid ที่มาแรงอันดับ 1 และกลายเป็นหนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลในประเทศจีน แซงหน้าแชมป์เก่าอย่าง Monster Hunt ที่ทำเอาไว้เมื่อปี 2015 โดยทำรายได้รวมกว่า 2,733 ล้านหยวน หรือราว 1,500 ล้านบาท จากการเข้าฉายเพียง 2 สัปดาห์
Xuan's estate project involving reclamation of the sea threatens the livelihood of the mermaids who rely on the sea to survive. Shan is dispatched to stop Xuan and this leads them into falling for each other. Out of his love for Shan, Xuan plans to stop the reclamation. Unfortunately, Shan and the other mermaids are hunted by a hidden organisation and Xuan has to save Shan before it's too late.
หากหนึ่งในหน้าที่ของหนังคือการพาผู้คนหลบหลีกจากโลกชีวิตจริงเข้าสู่โลกใบอื่น เพื่อเสพรับเอาความผ่อนคลายปรนความเครียดจากชีวิตประจำวันสักสองชั่วโมง และพกเอาก้อนความรู้สึกประทับใจกลับออกมาอิ่มเอมใจอีกสักพักในการกลับสู่โลกความเป็นจริงที่ยากเย็นนัก ผลงานหนังเรื่องนี้ของโจวซิงฉือก็ตอบโจทย์นั้นได้อย่างไร้ข้อกังขา เป็นมหรสพชั้นเยี่ยมที่เสิร์ฟความบันเทิงในรูปแบบเสียงหัวเราะหงายท้อง ซาบซึ้งพอประมาณได้อย่างยอดเยี่ยม
สิ่งที่โดดเด่นยิ่งกว่ามุกตลกติดดิน ที่ถูกขยี้เล่นจนบางครั้งเอาตลกอย่างเดียวโดยไม่ต้องคำนึงถึงการเดินเรื่องไปข้างหน้าก็ได้ คือจินตนาการที่แปลกประหลาดและสร้างโลกหนังใหม่อันเปี่ยมไปด้วยความเป็นเฉพาะตัวฉบับโจวซิงฉือได้อย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพิพิธพันธ์สัตว์แปลกตรงต้นเรื่อง ที่ลี้ภัยของเหล่าเงือก ไปจนถึงการตีความสร้างคาแรคเตอร์เงือกฉีกไปไกลจากภาพจำเงือกแสนสวยที่ถูกสร้างซ้ำหลายต่อหลายครั้ง
ในขณะที่อีกด้านของเสียงหัวเราะคือดราม่าประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการถูกคุกคามโดยกลุ่มทุนของเอกชนคือสิ่งที่โจวซิงฉือนำเสนอวิชวลความรุนแรงให้ชัดระดับเดียวกันกับซีนตลก ความรุนแรงที่ถูกนำเสนออย่างค่อนข้างฉูดฉาดพอๆ กับความฉูดฉาดในฉากหัวเราะบ้าบอทำให้เห็นว่าตัวหนังพยายามที่จะเดินตามขนบหนังคอมเมดี้หัวเราะท้องแข็งก่อนจะสวิงคนดูให้ต่อมน้ำตาแตกไปกับดราม่าที่สะเทือนอารมณ์
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าวิธีการหาทางลงของเรื่องช่างเปี่ยมไปด้วยความเพ้อฝันเลื่อนลอย ห่างไกลจากบริบททความเป็นไปได้จริงในโลกใบที่สร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นมา อีกทั้งจุดอ่อนเรื่องความสมเหตุสมผลของตัวบทภาพยนตร์ก็ดูค่อนข้างงกระท่อนกระแท่น แต่ถ้ามองในมุมที่หนังขับเคลื่อนด้วยมุกตลกเป็นหลัก ก็ถือว่าโจวซิงฉือยังคงความเป็นมวยเก๋าที่ใช้ความเก๋าเอาตัวรอดไปได้อย่างหืดขึ้นคอ
สรุปผลวิจารณ์หนัง