Equals - ฝ่ากฎล้ำ โลกห้ามรัก
หนัง Equals หรือชื่อไทยว่า ฝ่ากฎล้ำ โลกห้ามรัก เมื่อในโลกอนาคตอันสงบสุข มนุษย์ทุกคนถูกดัดแปลงยีนส์จนไม่เหลือความรู้สึกและตัวตนใดๆ อีกต่อไป หากใครที่มีความรู้สึกหรืออารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นมา โลกยุคนั้นจะเรียกอาการของพวกเขาว่า SOS - Switched on Syndrome ไม่มีใครอยากมีอาการนี้ เพราะกลัวจะถูกส่งไปอยู่ที่ The Den สถานบำบัดสำหรับคนเป็น SOS ที่ไม่เคยมีใครได้กลับออกมาแต่เมื่อไซลัส (นิโคลัส ฮอลท์) และนีอา (คริสเตน สจ๊วร์ต) สองหนุ่มสาว เกิดอาการ SOS ขึ้นมา แม้จะไม่อยากเป็น ทั้งสองกลับไม่สามารถละสายตาออกจากกันได้แม้แต่เพียงเสี้ยววินาที ทั้งคู่จะต้องเลือกระหว่างเข้ารับการรักษาเพื่อกลับไปเป็นคนธรรมดา หรือจะสู้ทุกวิถีทางเพื่อจะรักษาเอาความรู้สึกที่โลกเคยเรียกว่า รัก ให้คงอยู่ในใจตลอดไป ในภาพยนตร์โรแมนติกไซไฟ ปรากฏการณ์รักสุดยิ่งใหญ่แห่งซัมเมอร์ 2016
Equals A futuristic love story set in a world where emotions have been eradicated
จะเป็นอย่างไรเมื่อในโลกอนาคต มนุษย์ได้วิวัฒน์จนตระหนักว่า “อารมณ์” คือความบกพร่องที่จะบ่มเพาะความพินาศมาสู่มวลมนุษยชาติ จะเป็นอย่างไรเมื่อเมื่อมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย นอน กิน ทำงาน สืบพันธ์ อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยที่ตัดบริบททั้งหมดเกี่ยวกับ “อารมณ์” ออกไปจนสิ้น และกลายเป็นมนุษย์ที่ยิ้มหัวเราร้องไห้ไม่เป็น หากใครตกอยู่ในอาการที่มีภาวะอารมณ์สั่นคลอนไม่คงที่ก็จะถูกระบุว่าเป็นโรค “SOS” โรคที่ไม่มีวันหายและจะลุกลามไต่ระดับความร้ายแรงไปเรื่อยๆ จนต้องพบจุดจบที่น่าเศร้า และที่สุดปลายเชื้อร้ายแรงของโรค SOS คือ “คามรัก”
หนังเล่าเรื่องผ่าน Silas (Nicholas Hoult) มนุษย์โลกอนาคตผู้ใช้ชีวิตปกติสามัญเยี่ยงคนทั่วไปที่มีใบหน้าไร้อารมณ์ความรู้สึก จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้เกิดอารมณ์ความรู้สึกแปรปรวนไม่ได้จนถูกระบุว่าเป็นโรค SOS โดยมีสาเหตุมาจากหญิงสาวเพื่อนร่วมงานอย่าง Nia (Kristen Stewart) Silas ไม่เข้าใจว่าภายในเขาปั่นป่วนด้วยอะไร แต่มันทำให้เขามีอารมณ์พลุกพล่านเข้มข้นมากขึ้นกับทุกเรื่อง อาหารที่เคยกินอย่างจืดชืดไร้รสชาติกลับอร่อยขึ้นมาเสียอย่างนั้น และมีความปราถนาที่อธิบายไม่ได้ต่อตัว Nia อย่างรุนแรง แต่เขาต้องกดทับอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ไว้ไม่ให้แพร่งพรายไปในสังคมที่มีมาตรการกำจัดบุคคลผู้บกพร่องทางอารมรณ์อย่างเด็ดขาดรุนแรง
Equals ถือเป็นหนังอีกเรื่องที่เล่นประเด็นเสรีภาพของปัจเจกที่ถูกกดทับโดยค่านิยมอุดมการณ์ของสังคม โดยเลือกเอาความสามารถในการแสดงอารมณ์ความรู้สึกเป็นสัญลักษณ์ของการที่มนุษย์มีเสรีภาพในการที่จะเลือกและมีชีวิตเป็นของตัวเองไปถึงการแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ ที่มากกว่าการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์อย่างมีระบบระเบียบ มีประสิทธิภาพ ไร้ข้อบกพร่อง แต่ก็ดูเหมือนไม่ใช่มนุษย์
ครึ่งแรกของหนังใช้เวลาไปกับการเซ็ทอัพโลกของตัวละครที่เต็มไปด้วยความจืดชืดไร้สีสัน ส่งผลมาถึงจังหวะเนือยหนืดของตัวหนังเองที่อาจทำให้น่าเบื่อน่าง่วงได้ แต่ครึ่งหลังเมื่อตัวละครตระหนักถึงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเข้มข้นแล้ว หนังก็ได้นำเราเข้าไปสู่ความระทึกใจที่เล่นกับข้อมูลที่หยอดให้เราก่อนหน้านี้อย่างแยบยล สนุก คาดเดาไม่ได้ และมอบความบันเทิงอิ่มเอมใจได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
สรุปผลวิจารณ์หนัง