ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

รีวิว RDSMEs โปรแกรมบัญชีอย่างง่าย เพื่อธุรกิจ SMEs จากกรมสรรพากร

RDSMEs โปรแกรมบัญชีอย่างง่าย เพื่อธุรกิจ SMEs จากกรมสรรพากร

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 53,850
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7+RDSMEs+%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2+%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88+SMEs+%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

logo_revenue02

วันนี้ทางไทยแวร์มีโปรแกรมทำบัญชีมาใหม่ ที่น่าสนใจมากๆ มารีวิวการใช้งานให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ชมกัน สำหรับโปรแกรมทำบัญชีตัวนี้มีชื่อว่า โปรแกรม RDSMEs ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นโดย กรมสรรพากร เพื่อใช้ทำระบบบัญชีรายการต่างๆ ในธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะ โปรแกรมมีระบบการใช้งานที่ง่าย แม้ผู้ประกอบการจะไม่พื้นฐานทางบัญชี ก็สามารถจัดทำบัญชีในรูปแบบที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถนำโปรแกรมไปใช้งานได้ฟรีๆ อีกด้วย สำหรับใครที่สนใจก็สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม และ ชมรีวิววิธีการใช้งานของโปรแกรมนี้กันได้ที่นี่เลย


สำหรับผู้ที่ยังไม่มีโปรแกรมทำบัญชี RDSMEs สามารถกดดาวน์โหลดที่ปุ่ม "ดาวน์โหลด" ด้านล่างนี้ได้เลย (โปรแกรมมีขนาดไฟล์ 641 MB)

ดาวน์โหลดโปรแกรม RDSMEs


วิธีการติดตั้งโปรแกรม RDSMEs

เมื่อดาวน์โหลดโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้ ไฟล์ .EXE ที่ชื่อ Setup_RDSMEs มา ก่อนอื่นให้ทำการดับเบิ้ลคลิก เพื่อทำการ แตกไฟล์ (Extract) ออกมาก่อน

2016-01-04_124726

หลังจากดับเบิ้ลคลิกแล้วจะขึ้นหน้าต่างการแตกไฟล์ขึ้นมา ให้กดเลือกพื้นที่ (Destination folder) สำหรับการแตกไฟล์ ซึ่งเราสามารถเลือกบันทึกไว้ที่ไหนก็ได้ (จากภาพตัวอย่างได้เลือกบันทึกไฟล์ที่แตกออกมาไว้ที่หน้าจอ Desktop) หลังจากเลือกเรียบร้อยแล้วให้กดที่ปุ่ม Extract

2016-01-04_125800

จากนั้นก็รอสักครู่ให้ระบบทำการแตกไฟล์จนเสร็จสมบูรณ์

2016-01-04_125845



เมื่อทำการแตกไฟล์เสร็จเรียบร้อยจะได้ โฟลเดอร์ที่ชื่อว่า Setup_RDSMEs ออกมา (โฟลเดอร์จะปรากฏขึ้นในตำแหน่งที่เราได้เลือกบันทึกเอาไว้ในขั้นตอนการแตกไฟล์)

2016-01-04_130735

คราวนี้ก็มาถึงในส่วนของขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมกันแล้ว ในขั้นตอนการลงโปรแกรมนั้น สำหรับมือใหม่ที่ไม่ค่อยได้ทำการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ มาก่อน อาจจะสับสนอยู่บ้าง เพราะโปรแกรมมีให้เลือกติดตั้งระหว่างเวอร์ชัน 32 Bit และ 64 Bit แต่โปรแกรมก็ออกแบบให้สามารถติดตั้งตามทีละขั้นตอนได้โดยไม่ยากจนเกินไป 

เมื่อเปิดโฟลเดอร์เข้ามาแล้ว ให้หาไฟล์ที่มีชื่อว่า autorun เพื่อทำการติดตั้งตัวโปรแกรม

2016-01-04_145517

หลังจากดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ autorun แล้ว โปรแกรมจะทำการรันหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้กดที่ปุ่ม "ติดตั้งโปรแกรมบัญชีอย่างง่ายสำหรับผู้ประกอบการ SMEs" ที่อยู่บริเวณด้านล่าง

2016-01-04_145743

จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นข้อความ ให้ตรวจสอบการติดตั้งของโปรแกรม Microsoft .NET Framework ในเวอร์ชันที่ 3.5

หากอยากดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ติดตั้ง .NET Framework เวอร์ชันอะไรลงไปแล้วบ้าง สามารถเข้าไปดูที่
ไดร์ฟ C > Windows > Microsoft.NET> Framework จากนั้นดูเวอร์ชันตามชื่อโฟลเดอร์ (จากภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เครื่องนี้ได้มีการติดตั้ง Microsoft .NET Framework ตั้งแต่เวอร์ชัน 1.0 ถึง 4.0)

2016-01-04_192851

หากพบว่ายังไม่มีการติดตั้งโปรแกรม Microsoft .NET Framework นี้ ก็สามารถกด ดาวน์โหลด Microsoft .NET Framework 3.5 ได้ที่นี่  แต่สำหรับใครที่มีเวอร์ชันที่สูงกว่า 3.5 เช่น 4.0 หรือ 4.5 ก็ไม่จำเป็นต้องลบการติดตั้งออกก็ได้ (ถึงแม้คำแนะนำในรูปภาพจะให้ลบก็ตาม) จากนั้นให้กด Next ต่อได้เลย

2016-01-04_183830

จากนั้นโปรแกรมจะให้ทำการตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เรานั้นมีระบบปฏิบัติการวินโดวส์แบบ 32 Bit หรือ 64 Bit สำหรับผู้ที่รู้แล้วก็ให้กด Next ต่อได้เลย (สำหรับใครที่ยังไม่รู้ให้กดเพื่อตรวจสอบระบบก่อน โดยดูที่ Operating System เป็นหลักว่าเป็น 32-bit หรือ 64-bit แล้วจึงกด Next)

2016-01-04_183938

หลังจากที่รู้ระบบปฏิบัติการของวินโดวส์แล้ว ให้เลือกติดตั้งตามระบบของคอมพิวเตอร์ได้เลย

2016-01-04_184041

จากนั้นให้กด ปุ่ม Next และตามด้วย ปุ่ม Install เพื่อเริ่มทำการติดตั้งโปรแกรม

2016-01-04_184247

2016-01-04_184339

แล้วรอสักครู่ให้โปรแกรมทำการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ จนสมบูรณ์ จนขึ้นคำว่า Installation Complete จากนั้นให้กด ปุ่ม Close

2016-01-04_184523 2016-01-04_184550

ปล่อยให้โปรแกรมรันหน้าต่าง .exe ของฐานข้อมูลจนเสร็จสิ้น แล้วหน้าต่างจะปิดไปเองโดยอัตโนมัติ

2016-01-04_184826

ต่อมาโปรแกรมจะขึ้นข้อความว่า ติดตั้งฐานข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม OK

2016-01-04_184900

หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Finish เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งของโปรแกรม

2016-01-04_184935

 


การใช้งานของโปรแกรม 

หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งไปเรียบร้อยแล้ว คราวนี้มาดูฟังก์ชั่นการใช้งานของโปรแกรมกันบ้าง เมื่อกดเข้าโปรแกรมมาแล้ว โปรแกรมจะขึ้นหน้าให้กรอกรหัสผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ให้ใช้รหัส rdsmes พิมพ์ลงไปในทั้ง 2 ช่อง จากนั้นกดปุ่ม เข้าระบบ เพื่อเริ่มต้นการใช้งานของโปรแกรมกันได้เลย (ในกรณีที่ใส่รหัสผ่านแล้วขึ้น error.. หรือไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ให้ทำการลบการติดตั้งของโปรแกรมออกทั้งหมด แล้วลองตรวจสอบเวอร์ชันของ Microsoft .NET Framework ว่ามีเวอร์ชัน 3.5 หรือไม่ จากนั้นให้เริ่มทำการติดตั้งโปรแกรมใหม่อีกครั้ง)

2016-01-06_182711

เมื่อเข้าสู่ระบบมาแล้ว จะพบกับหน้าต่างคำแนะนำการใช้ของโปรแกรม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ฟังก์ชั่นหลักๆ คือ ระบบงานบัญชี ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการซื้อขายสินค้า และ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ใช้สำหรับออกใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ-ขาย พร้อมกลับยื่นแบบแนบ ภ.พ.30 คราวนี้เรามาลองเริ่มดูการใช้งานของ ระบบงานบัญชี กันก่อน

2016-01-06_181544

เมื่อเข้ามาสู่การใช้งานของ ระบบงานบัญชี แล้ว จะพบกับแผนผังการใช้งานในส่วนต่างๆ ให้เข้ามาดูที่ฟังก์ชั่นอย่าง ค่าคงที่ กันก่อน ซึ่งในฟังก์ชั่นค่าคงที่นี้ จะเป็นการบันทึกข้อมูลต่างๆ ของกิจการไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของกิจการ ทะเบียนลูกค้าและผู้ขายสินค้า สถานที่ประกอบการ รายการกลุ่มสินค้าและบริการต่างๆ 

866_160106184422Q3

ใน ค่าคงที่กิจการ จะมีให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ ทั้ง ประเภทกิจการ, ชื่อและที่อยู่ของสถานที่ประกอบการ, เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และข้อมูลอื่นๆ ของผู้ประกอบการ เมื่อเรากรอกข้อมูลทุกอย่างในส่วนนี้อย่างถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้กด บันทึกจัดเก็บ 

2016-01-06_185348

หลังจากบันทึกข้อมูลค่าคงที่กิจการเรียบร้อยแล้ว ต่อมาให้ใส่ข้อมูลในรายการถัดไปนั่นคือ ค่าคงที่ > คำนำหน้า

866_16010619063499

ในขั้นตอนนี้คือการใส่ รหัสและชื่อคำนำหน้ากิจการของเรา โดยที่เราดูรายการของรหัสนั้นได้ที่ ปุ่ม แสดงและค้นหา เมื่อกดแล้วจะขึ้นหน้าต่างค้นหาข้อมูล ให้เราเลือกรายการตามที่ต้องการ จากนั้นให้นำข้อมูลนั้นมาใส่ในช่องรหัสและชื่อคำนำหน้า ตัวอย่างเช่น ชื่อคำนำหน้าเป็น บริษัท ก็ให้นำรหัส 2000 มาใส่ลงไปในช่อง จากนั้นให้กดปุ่ม บันทึกจัดเก็บ พร้อมกับยืนยันการบันทึกให้เรียบร้อย

2016-01-06_191459

ขั้นตอนถัดมาให้เข้ามาที่หน้า ทะเบียนลูกค้าและผู้ขายสินค้า ในหมวดค่าคงที่ ในขั้นตอนนี้ให้เราเลือกก่อนว่าต้องการจะบันทึก ทะเบียนลูกค้า หรือ ทะเบียนผู้ขายสินค้า หลังจากนั้นให้กรอกข้อมูลในส่วนต่างๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน (ยกเว้นในส่วนของช่อง รหัส ที่โปรแกรมจะทำการใส่ตัวเลขมาให้โดยอัตโนมัติ) จากนั้นให้กด บันทึกจัดเก็บ พร้อมกับยืนยันการบันทึกให้เรียบร้อย

2016-01-07_172541

หลังจากที่ใส่ข้อมูลของค่าคงที่กิจการ ทะเบียนลูกค้าหรือผู้ขายสินค้าเรียบร้อยแล้ว ต่อมาให้เริ่มใส่ข้อมูลของ กลุ่มสินค้า/บริการ กันต่อ ในขั้นตอนนี้จะมีให้เราใส่ รหัสกลุ่มสินค้า/บริการ , ชื่อกลุ่มสินค้า/บริการ  และประเภทของกลุ่มสินค้า

ในช่อง รหัสกลุ่มสินค้า/บริการ ให้เรากำหนดตัวเลขรหัสลงไป (จะเป็นรหัสตัวเลขอะไรก็ได้) ต่อด้วยการระบุ ชื่อกลุ่มสินค้า/บริการ และเลือกประเภทกลุ่มสินค้าให้เรียบร้อย แล้วกดปุ่ม บันทึกจัดเก็บ

2016-01-07_183508

หลังจากกำหนดกลุ่มสินค้าเรียบร้อยแล้ว ก็มาดูขั้นตอนสุดท้ายของ ค่าคงที่ ในการใส่ข้อมูลให้กับสินค้าโดยเข้าไปที่ ทะเบียนสินค้า/บริการ ในขั้นตอนนี้จะเป็นการใส่รายละเอียดให้กับตัวสินค้าหรือบริการว่าเป็นสินค้าอะไร ราคาเท่าไร และเหลือจำนวนกี่ชิ้น เป็นต้น

2016-01-07_184138

ในการใส่ รหัสกลุ่มสินค้า/บริการ นั้น เราสามารถกดที่ปุ่มสี่เหลี่ยมด้านหลัง เพื่อเลือกรายการที่เราได้เคยบันทึกเอาไว้ในกลุ่มสินค้า/บริการ จากนั้นกดปุ่ม เลือก เพื่อให้โปรแกรมดึงข้อมูลเข้ามา

2016-01-07_184920

เมื่อกรอกข้อมูลรายละเอียดของสินค้าในช่องอื่นๆ พร้อมกับเลือกประเภทของภาษีมูลค่าเพิ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกข้อมูลด้วยการกดปุ่ม บันทึกจัดเก็บ 

2016-01-07_191300

 


ระบบซื้อ-ขายสินค้า และ จ่ายชำระหนี้

หลังจากที่ทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ ของกิจการและสินค้าในส่วนของฟังก์ชั่น ค่าคงที่ ไปแล้ว ก็มาดูระบบการทำบัญชีซื้อ-ขายสินค้า และ จ่ายชำระหนี้ กันต่อ ในระบบนี้จะอยู่ในฟังก์ชั่นเมนู ประจำวัน ซึ่งจะเกี่ยวกับการทำบัญชีรายการซื้อ-ขายสินค้าและการจ่าย-รับชำระหนี้ พร้อมออกใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า

2016-01-07_213804

เริ่มต้นที่รายการแรกคือ รายการซื้อสินค้า / บริการ เราสามารถเลือกชนิดเอกสารของสินค้าที่แตกต่างกันได้ ทั้งใบกำกับภาษีซื้อในรูปแบบการ ซื้อสด หรือ ซื้อเชื่อ นอกจากนี้ระบบยังรองรับการทำภาษีแบบที่สามารถขอคืนได้ ซึ่งสามารถกำหนดได้ที่เมนูทะเบียนสินค้า รวมถึงการบันทึกรับการบันทึกเกี่ยวกับวันที่ รายการสินค้าและราคาที่เราได้ซื้อหรือขายสินค้า เพื่อที่จะนำมาทำบัญชีได้ (ทั้งแบบสินค้าที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกกันว่า VAT และแบบใบเสร็จรับเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2016-01-07_195832

ในส่วนของระบบ รายการขายสินค้า ของโปรแกรมบัญชีนี้ เราสามารถกดที่ปุ่ม พิมพ์ต้นฉบับ เพื่อพิมพ์ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินในการขายได้ โดยที่โปรแกรมจะสร้างเลขที่ใบกำกับภาษีให้โดยอัตโนมัติ

2016-01-07_201652

หลังจากที่กดพิมพ์ต้นฉบับแล้ว โปรแกรมจะแสดงตัวอย่างในการพิมพ์ของใบกำกับภาษี/ ใบเสร็จรับเงินในการขาย 

2016-01-07_201822

นอกจากนั้นในรายการ จ่ายชำระหนี้ โปรแกรมสามารถระบุยอดเงินและเงื่อนไขในการชำระ ว่าเป็นการจ่ายในรูปแบบของเงินสดหรือเช็ค พร้อมทั้งระบุส่วนลดและภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยสามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ ได้

2016-01-07_200933

ในส่วนของระบบใน รับชำระหนี้ เราสามารถค้นหาใบกำกับภาษีที่ได้บันทึกไว้ในรายการขายสินค้า และสามารถกด พิมพ์ฟอร์มใบรับชำระหนี้ เพื่อพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า

2016-01-07_210034

ในรายการย่อยสุดท้ายของฟังก์ชั่น ประจำวัน คือระบบ บันทึกบัญชีประจำวัน ที่สามารถบันทึกรายการซื้อ-ขายรายวันได้ 2 วิธีแบบง่ายๆ วิธีแรกคือ การดับเบิ้ลคลิกที่ช่องรหัสบัญชี จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่างค้นหาข้อมูลมาให้เลือกรายการเลขที่และชื่อบัญชี

2016-01-07_211702

สำหรับการบันทึกรายการซื้อ-ขายรายวันวิธีที่ 2 ให้เลือกที่แถบเมนูรายการต่างๆ ทางด้านซ้ายมือ จากนั้นโปรแกรมจะดึงรายการรหัสบัญชี และชื่อบัญชีตามที่เราเลือกไว้ เข้ามาโดยอัตโนมัติ

2016-01-07_211922
 


ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อได้ทำการบันทึกรายการข้อมูลต่างๆ ใน ระบบงานบัญชี ไม่ว่าจะเป็นบันทึกรายการซื้อ-ขาย, ลดหนี้-เพิ่มหนี้ รวมทั้งรายการอื่นๆ ที่มีผลต่อค่าภาษี ข้อมูลทั้งหมดนั้นจะถูกบันทึกและโอนมาที่ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ในการออกใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย พร้อมแบบ ภ.พ.30 เพื่อใช้ในการตรวจสอบและยื่นภาษีให้กับทางกรมสรรพากร

2016-01-07_212351

เมื่อกดเข้ามาแล้วจะพบกับแผนผังการใช้งานของระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของโปรแกรม ใน ฟังก์ชั่นข้อมูลใบกำกับภาษี จะสามารถดูข้อมูลใบกำกับภาษีขาย และ ใบกำกับภาษีซื้อ ได้

2016-01-07_220657

วิธีการดูข้อมูลของ ใบกำกับภาษีขาย ให้กดปุ่ม ค้นหา เพื่อเลือกดูรายการต่างๆ ที่เราได้บันทึกไว้ใน ระบบบัญชี

2016-01-07_220305

ในส่วนของข้อมูล ใบกำกับภาษีซื้อ จะสามารถดูข้อมูลของใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบกำกับภาษีเกิน 6 เดือน ได้ด้วยการกดปุ่ม ค้นหา เช่นเดียวกับในระบบข้อมูลใบกำกับภาษีขาย

2016-01-07_220550

วิธีการตรวจสอบข้อมูลและยื่นภาษี พร้อมแบบภ.พ.30

ในการตรวจสอบข้อมูลและยื่นภาษีนั้น จะอยู่ในฟังก์ชั่นของการ พิมพ์รายงาน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ แบบแสดงรายการและแบบแนบ ภ.พ.30

2016-01-07_221928

ในส่วนของรายงานภาษีขาย และภาษีซื้อนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 ไว้ใช้ตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่น ซึ่งเราสามารถเลือกเงื่อนไขที่ต้องการดู จากวันที่ของใบกำกับภาษีหรือจากเดือนภาษีก็ได้ ในส่วนที่ 2 นั้น จะใช้ในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือน เมื่อเลือกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กด พิมพ์รายงาน เพื่อพิมพ์รายงานภาษีขาย

2016-01-07_222416

หลังจากที่กดพิมพ์รายงานแล้ว โปรแกรมจะแสดงภาพตัวอย่างของรายงานภาษีขาย ก่อนที่จะทำการพิมพ์ขึ้นมา

2016-01-07_223729

แล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการยื่นแบบ ภ.พ.30 จะอยู่ในเมนู แบบแสดงรายการ ภ.พ.30 พร้อมกับใส่ข้อมูลวันที่ในการนำส่ง ชื่อและนามสกุลของผู้ที่ยื่น จากนั้นกดปุ่ม พิมพ์รายงาน เพื่อให้โปรแกรมแสดงหน้าตัวอย่างของแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)

2016-01-07_224505

ตัวอย่างแบบฟอร์มของใบ ภ.พ.30 ซึ่งจะมีชื่อและรายละเอียดทั้งหมดที่เราได้กรอกไปขึ้นมาในใบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และการชำระภาษี

2016-01-07_224625
 


สรุปผลการใช้งาน

หลังจากที่ได้ลองใช้งานโปรแกรมบัญชี RDSMEs ของทางกรมสรรพากรแล้ว นับได้ว่าเป็นโปรแกรมทำบัญชีที่มีขั้นตอนการใช้งานที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว มีฟังก์ชั่นของระบบบัญชีที่ครบทุกรูปแบบสำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีความสนใจจะทำบัญชีด้วยตนเองเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี ก็สามารถเรียนรู้และเข้าใจวิธีการใช้งานได้ไม่ยาก อีกทั้งยังมั่นใจได้เลยว่าข้อมูลเอกสารบัญชีที่ทำจากโปรแกรมนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชีและกฎหมายภาษี

ข้อดี

  • โปรแกรมออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน มีเมนูและรายการต่างๆ ทั้งหมดเป็นภาษาไทย
  • มีฟังก์ชั่นการใช้สำหรับการทำระบบบัญชี และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ครบครัน ถูกต้องตามกฎหมาย
  • สามารถเรียกดูข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ มาใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  • สามารถพิมพ์รายงานการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 และรูปแบบอื่นๆ ได้

ข้อสังเกต

  • รูปแบบของโปรแกรมยังดูไม่ค่อยทันสมัย
  • มีวิธีการติดตั้งที่ค่อนข้างซับซ้อน
  • คำที่ใช้ในบางรายการเมนูอาจเข้าใจได้ยาก (สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี)

 
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7+RDSMEs+%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2+%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88+SMEs+%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ดาวน์โหลด
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2
17 มกราคม 2560 10:34:20 (IP 49.228.99.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
อานนท์
เมื่อเรายกเลิกใบกำกับ ข้อมูลจะหายไปมั้ยคับ
3 กันยายน 2561 16:38:15 (IP 119.76.152.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
theerasak suwannapha
เมื่อบันทึกจัดเก็บข้อมูลแล้ว สั่งพิมพ์ข้อมูลไม่ได้
 
 
ความคิดเห็นที่ 1
16 กันยายน 2559 11:32:32 (IP 113.53.58.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
อ้อม
ดูเหมือนโปรแกรมจะใช้ได้แค่บริษัทเดียวเปล่าคะ ถ้าเรามี2 บริษัท เหมือนจะต้องแยกเครื่องคอมใช่ไหม
10 พฤศจิกายน 2559 18:42:42 (IP 49.228.242.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
อุอิ
เข้าระบบไม่ได้ค่ะ
 
20 กันยายน 2561 09:20:50 (IP 184.22.158.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
auau
เข้าไม่ได้ค่ะ
 
9 กุมภาพันธ์ 2562 08:28:47 (IP 184.22.240.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
Nan
อยากทราบว่าบิลน้ำมันบันทึกยังไงค่ะ